วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สถานที่ท่องเที่ยว อําเภอเมืองอำนาจเจริญ


พุทธอุทยาน และ พระมงคลมิ่งเมือง ตั้งอยู่ที่เขาด้านพระบาทห่างจากตัวเมืองไปทางด้านเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร บริเวณวัดประกอบด้วย หินด้านธรรมชาติร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด ซึ่งได้รับการปรับแต่งให้เป็น พุทธอุทยาน สวนพระมงคลมิ่งเมือง หรือพระให้ ป่างมารวิชัย องค์พระหน้าตักกว้าง 11 เมตร ความสูงจากระดับพื้นดินถึงยอดเปลวรัศมี 20เมตรเป็นพระพุทธรูปที่ได้รับอิทธิพลสกุลศิลปอินเดียเหนือ (ป่าละ) ที่แผ่อิทธิพลมายังภาคอีสานของไทย เมื่อพันปีเศษออกแบบโดยจิตรบัวบุศย์

โดยการก่อสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็กครอบพระองค์เดิมซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นมีฐานกว้าง 8.4 เมตร ยาว 12.6 เมตร สูง 5.2 เมตร แล้วแต่งองค์พระด้านนอกด้วยกระเบื้องโมเสคสีทองสร้างเมื่อปี พ.ศ.2508 เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของ
ชาวจังหวัดอํานาจเจริญและจังหวัดอุบลราชธานี

พระมงคลมิ่งเมือง เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามประจําภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทางด้านหลังของพระมงคลมิ่งเมืองมีพระพุทธรูปลักษณะแปลกอีก 2 องค์ ห่มจีวรเหลืองลออตา มีนามว่า พระละฮาย หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า พระขี่ลาย หมายถึง ไม้สวย ไม้งาม โดยเรียกตามรูปลักษณ์ขององค์พระพุทธรูปโบราณ พบในหนองน้ำเมื่อปี พ.ศ. 2505 ครั้งที่มีการปรับปรุงบริเวณโดยรอบเพื่อทําฝายกั้นน้ำ ถือกันว่าเป็นพระที่ให้โชคลาภ ชาวบ้านมักมาบนบานขอพรอยู่เสมอ

จังหวัดอำนาจเจริญ

จังหวัดอำนาจเจริญ

จังหวัดอํานาจเจริญ ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ โดยเส้นทางรถยนต์ประมาณ 568 กิโลเมตร มีพื้นที่การปกครองทั้งสิ้น 3,161.248 ตารางกิโลเมตร เริ่มตั้งเป็นเมืองในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์โดยขึ้นอยู่กับนครเขมราฐต่อมาจึงได้ย้ายมาขึ้นต่อเมืองอุบลราชธานีจนกระทั่งได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นจังหวัดอํานาจเจริญ เมื่อวันที่1 ธันวาคม 2536

อาณาเขตและการปกครอง
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดยโสธร ที่อําเภอเลิงนกทาและจังหวัดมุดาหาร ที่อําเภอดอนตาล
ทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวตามแนวฝั่งแม่น้ำโขงด่านอําเภอชานุมาน เป็นระยะทาง 38 กิโลเมตร
และติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานีที่อําเภอเขมราฐ อําเภอกุดข้าวปุ้น และอําเภอตระการพืชผล
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดยโสธร ที่อําเภอป่าติ้วและ อําเภอเลิงนกทา
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานี ที่อําเภอเมือง อุบลราชธานี และอําเภอม่วงสามสิบ
อํานาจเจริญ แบ่งการปกครองออกเป็น 6 อําเภอ และ 1 กิ่งอําเภอ คือ อําเภอเมือง อําเภอหัวตะพาน อําเภอพนา อําเภอเสนางคนิคม อําเภอชานุมาน อําเภอปทุมราชวงศา และกิ่งอําเภอลืออํานาจ


การเดินทาง
การคมนาคมระหว่างกรุงเทพฯ และจังหวัดอํานาจเจริญญ สะดวกสบายทั้งทางรถยนต์ รถไฟ หรืออาจใช้ทางอากาศ โดยใช้บริการของสนามบินนานาชาติ ที่จังหวัดอุบลราชธานี
ทางรถยนต์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน)และทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 226 นครราชสีมา-สุรินทร์ และใช้ทางหลวงหมายเลข 214 สุรินทร์-อําเภอสุวรรณภูมิแล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 202 ผ่านจังหวัดยโสธร และอําเภอป่าติ้ว ถึงจังหวัดอํานาจเจริญรวมระยะทาง 580 กิโลเมตร หรือสามารถใช้ทางหลวงหมายเลข 1 และหมายเลข 2 จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 226 นครราชสีมา อุบลราชธานี ถึงจังหวัดอุบลราชธานี แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 212 อุบลราชธานี-อํานาจเจริญ รวมเป็นระยะทาง 704 กิโลเมตร
ทางรถโดยสารประจําทาง มีทั้งธรรมดาและปรับอากาศ ซึ่งเป็นรถโดยสารที่วิ่งระหว่าง กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี ออกจาก
สถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกําแพงเพชร 2 ติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. 936-2852-66 จากนั้นใช้รถโดยสารประจําทางที่วิ่งระหว่างอุบลราชธานี-มุกดาหาร-ธาตุพนม ซึ่งจะผ่านจังหวัดอํานาจเจริญญ มี 2 บริษัท คือ

- บริษัทสายัณห์เดินรถ จํากัด เป็นรถโดยสารธรรมดา มีเวลารถออกดังนี้คือ 06.00 น. 07.00 น. 09.00 น. 11.00 น. 12.00 น. และ
เวลา 13.00 น. ซื้อตั๋วและขึ้นรถได้ที่คิวรถตลาดบ้านดอนกลาง รายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ โทร. (045) 242163, 241820

- บริษัทสหมิตรทัวร์ เป็นรถโดยสารปรับอากาศ ซึ่งวิ่งระหว่างอุบลราชธานี-นครพนม มีเวลาออกดังนี้คือ 06.30 น. และเวลา 14.00 น. ซื้อตั๋วและขึ้นรถได้ที่ บริษัทสหมิตรทัวร์ ถนนเขื่อนธานี ตรงขามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี

รถไฟ มีรถด่วนและรถเร็วทุกวัน ซึ่งเป็นรถไฟที่วิ่งระหว่าง กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี และยังมีรถธรรมดาจากนครราชสีมา
อุบลราชธานี และสุรินทร์-อุบลราชสีมา อีกด้วยจากนั้น ใช้รถโดยสารประจําทางที่วิ่งระหว่างอุบลราช ธานี-มุกดาหาร-ธาตุพนม หรือใช้รถประจําทางที่วิ่งระหว่างอุบลราชธานี-นครพนม ก็ได้ รายละเอียดติดต่อสอบถามได้ที่หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 223-7010, 223-7020

เครื่องบิน บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน) มีเครื่องบินรับสงผูโดยสาร และพัสดุภัณฑ ระหว่างกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี
และอุบลราชธานี-กรุงเทพฯ ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท การบินไทย จํากัด ถนนหลานหลวง โทร. 280-0060, 628-2000 อุบลราชธานี ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่สํานักงานขายตั๋ว โทร.(045) 313340-43 หรือ ที่ทําการสนามบิน โทร. (045) 243037-38

วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการจัดการประเพณีบุณบั้งไฟ



ขั้นตอนการจัดการประเพณีบุญบั้งไฟ
ประชุมชาวบ้าน ผู้เฒ่าผู้แก่ พระสงฆ์ในหมู่บ้านเพื่อขอความเห็นว่าจะจัดงานบุญบั้งไฟหรือไม่ ถ้าตกลงจัดก็จะทำในข้อถัดไป แต่ถ้าไม่จัดจะต้องส่งตัวแทน (ผู้มีอายุชายในหมู่บ้าน) และพ่อเฒ่าจ้ำ (หมอผีประจำหมู่บ้าน) ไปขอขมาต่อเจ้าปู่เพื่อขอเลื่อนไปจัดในปีถัดไป (พิธีกรรมนี้ไม่มีผู้หญิงเกี่ยวข้อง)
เมื่อตกลงจัดผู้เฒ่าผู้แก่ของหมู่บ้านจะส่งข่าวบอกกล่าวเชื้อเชิญไปยังหมู่บ้านใกล้เคียงให้มาร่วมงานบุญ เรียกว่า "เตินป่าว" ในสมัยถัดมาบ้านเมืองเจริญขึ้นก็พัฒนามาเป็นการแจกหนังสือเชิญชวนเรียกว่า "สลากใส่บุญ" เหตุที่ถือว่างานนี้เป็นงานบุญก็เพราะว่า วัดเป็นที่รวมของการจัดกิจกรรมของชุมชน การเตรียมการต่างๆ ตั้งแต่การทำบั้งไฟก็มักจะเริ่มจากพระ ซึ่งถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญ เป็นฉบับ (ต้นฉบับ) ในวาระโอกาสนี้ยังมีการแทรกประเพณีทางพุทธศานาเข้าไปด้วย เช่น การบวชและการฮดสงฆ์ อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง กองฮด พิธีการในการยกย่องพระสงฆ์
ชาวบ้านจะเรี่ยไรเงินและสิ่งของตามศรัทธาเพื่อร่วมสมทบกันสร้างบั้งไฟ (ในสมัยโบราณจะทำเพียงบั้งเดียว) บอกบุญให้บ้านเรือน 3-4 หลังคารวมกันต้อนรับแขกจากต่างบ้านที่มาร่วมบ้านหนึ่ง (ซึ่งจำนวนไม่มากนักจะมาพร้อมบั้งไฟของหมู่บ้าน เช่น พระภิกษุ สามเณร หญิงชายที่มาร่วมขบวนแห่) ส่วนใหญ่ก็มักจะกำหนดให้ครอบครัวที่บวชลูกหลานเป็นเจ้าภาพ (เพราะต้องจัดงานเลี้ยงญาติพี่น้องอยู่แล้ว)
ชาวบ้านที่ได้รับมอบหมายจะสร้างปะรำ หรือ "ผาม" หรือ "ตูบบุญ ซึ่งทำด้วยโครงไม้จริง ยกพื้นข้างบนให้พระสงฆ์นั่งฉันภัตาหาร ส่วนข้างล่างปูด้วยใบไม้หรือฟางข้าวให้หญิงสาวนั่ง โดยมีหญิงสูงอายุควบคุมดูแลหญิงสาวเหล่านี้ เพื่อป้องกันมิให้ถูกชายในขบวนเซิ้งลวนลามจนเกินเหตุ
ในวัดจะมีการทำบั้งไฟโดย "ฉบับ" ซึ่งมักจะเป็นพระ โดยมีลูกมือคือชาวบ้านผู้ชาย ในสมัยผมยังเป็นเด็ก 20 กว่าปีผ่านมาแล้ว ผมก็เป็นลูกมือพระด้วยการไปหาไม้สำหรับมาเผาเป็นถ่านสำหรับคั่วผสมกับดินประสิวเรียกว่า การทำหมื่อ ซึ่งมีสูตรจำเพาะของช่างแต่ละคน ตำด้วยครกมองให้ละเอียดร่วน ทดสอบด้วยการนำมาโรยเป็นทางยาวแล้วจุดไฟดูความเร็วของการปะทุ หากปะทุช้าก็จะต้องใช้สูตรผสมใหม่ตามแต่ต้นฉบับจะกำหนดบอกมา

การทำบั้งไฟในสมัยก่อนจะใช้ไม้ไผ่ลำขนาดใหญ่ที่สุด ทะลวงปล้องให้ถึงกัน ภายนอกจะใช้ตอกไม้ไผ่ถักเป็นเชือกมัดรอบลำไผ่ให้แน่นเพื่อไม่ให้ลำไผ่แตก ส่วนหัวปล้องสุดท้ายจะถูกอุดด้วยแผ่นไม้หนาพอควร แล้วทำการอัดบรรจุหมื่อ (ดินปืน) ให้แน่นด้วยการตำ หรือใช้คานดีดคานงัด (สมัยใหม่ใช้แม่แรงยกล้อรถบรรทุกแทนสะดวกกว่ากันดังภาพซ้ายมือ)

ยุคสมัยเปลี่ยนไปจากลำไผ่กลายมาเป็นท่อเหล็กหรือท่อประปา (ซึ่งอันตรายมากเมื่อมีการระเบิดใส่ผู้คนอย่างที่เป็นข่าว) ตอนหลังหันมาใช้ท่อพีวีซีแทนซึ่งก็ยังเป็นอันตรายอยู่ดี จากการบูชาแถนมาเป็นการพนันขันต่อเพื่อการเดิมพัน จำนวนบั้งไฟที่จุดในแต่ละที่จึงมีจำนวนมาก และสร้างความเสียหายต่อชุมชนในทิศที่บั้งไฟถูกจุดออกไป (เพราะสามารถไปไกลได้หลายสิบกิโลเมตร)

นอกจากบั้งไฟแล้ว ยังมีการทำพลุ พะเนียง ดอกไม้ไฟ ตะไล (เพื่อจุดในการแห่ร่วมด้วย) นอกจากนั้นตัวบั้งไฟยังต้องมีการประดับตกแต่งอย่างสวยงามเรียกว่า การเอ้ ซึ่งก็เป็นฝีมือของพระอีกเช่นกัน

หมอลำซิ่ง


หมอลำกลอนซิ่ง
..หมอลำกลอนซิ่งเป็นศิลปะการแสดงของชาวอีสานโดยได้นำเอาศิลปะที่มีมาตั้งแต่เดิมมาดัดแปลงประยุกต์ให้ทันสมัยคือนำเอาหมอลำกลอนซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นการลำประกอบแคนเพียงอย่างเดียวมาประยุกต์เข้าดนตรีชิ้นอื่น ๆ เช่น พิณ เบส และกลองชุด จนได้รับความนิยม ปัจจุบันได้มีการนำเอาเครื่องดนตรีสากลเช่น ออร์แกน คีย์บอร์ดมาประยุกต์เล่นเป็นทำนองหมอลำ ทำให้จังหวะสนุกคึกครื้น ประกอบกับการนำเพลงสากลเพลงสตริงเพลงลูกทุ่ง ที่กำลังฮิตมาประยุกต์เข้าด้วยลำซิ่ง เป็นวิวัฒนาการของลำคู่ (เพราะใช้หมอลำ 2-3 คน) ใช้เครื่องดนตรี สากลเข้าร่วมให้จังหวะเหมือนลำเพลิน มีหางเครื่องเหมือนดนตรีลูกทุ่ง กลอนลำสนุกสนานมีจังหวะอันเร้าใจทำให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว
.........หมอลำกลอนซิ่งในปัจจุบันได้กลายเป็นธุรกิจความความบันเทิงที่ได้รับความนิยมอีกแขนงหนึ่ง ที่ชาวอีสานนิยมจ้างไปเป็นมหรสพสมโภชน์งานที่ได้จัดขึ้นในโอกาสต่าง ๆ
.........รูปแบบการแสดง จะเป็นการร้องรำทำนองหมอลำประยุกต์กับเพลงที่สนุก โดยมี หมอลำฝ่ายชายคอยร้องแก้กับ หมอลำฝ่ายหญิง พร้อมกับ การ โชว์ลีลา การร่ายรำที่อ่อนช้อยงดงามและมีหมอแคนเป่าแคนประกบอยู่ข้าง ๆเพื่อคอยคลอแคนให้หมอลำไม่หลงคีย์เสียงของตนเอง ซึ่งหมอลำแต่ละคนจะมีหมอแคนประจำตัวของตัวเองปัจจุบัน วงหมอลำซิ่งใหญ่ ๆ จะมีหางเครื่องเพื่อเพิ่มสีสันอีกด้วย
...........การว่าจ้าง เจ้าภาพจะเป็นคนจับคู่หมอลำเอง เพื่อจะได้เห็นการร้องแก้กันด้วยความสนุกสนานและมีไหวพริบ

ลำซิ่งบัวผัน ศรีจันทร์